พิธีการฌาปนกิจศพหรืองานเผาศพและของชำร่วยงานศพ

Last updated: 27 ส.ค. 2564  |  1701 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พิธีการฌาปนกิจศพหรืองานเผาศพและของชำร่วยงานศพ

พิธีการฌาปนกิจศพ

นับเป็นพิธีครั้งสุดท้ายกับผู้ที่บุคคลอันเป็นที่รัก ในตอนเช้าจะนิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์และทำบุญถวายภัตตาหาร ตกช่วงบ่ายก็จะมีการเคลื่อนศพวนรอบเมรุเผา โดยการเวียนศพต้องเวียนซ้ายต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ ๓ รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลก นรก และสวรรค์ 

ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต พิธีการก็จะเริ่มเรียนเชิญแขกผู้ใหญ่ขึ้นทำการทอดผ้าบังสุกุล และตามด้วยแขกผู้มีเกียรติขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง ทางลงก็จะมีเจ้าภาพคอยมอบของชำร่วยงานศพเป็นที่ระลึกแทนใจจากเจ้าภาพ

เมื่อพิธีเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้นบรรดาลูกหลานก็จะมาเก็บอัฐิ ลูกหลานจะเก็บส่วนที่สำคัญไว้บูชา และบางส่วนอาจจะนำไปลอยอังคาร ซึ่งอาจจะเป็นแม่น้ำ หรือทะเล ทั้งนี้มีความเชื่อที่ว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความสงบและร่มเย็น

พิธีงานฌาปนกิจ งานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายและยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ตายและพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง ทำให้มีความตั้งใจในการทำความดีและทำบุญกุศลกันมากขึ้นต่อไป

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วน

wikipedia

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้